Salicylic Acid ดูแลผิวระหว่างตั้งครรภ์ปลอดภัยหรือไม่?

กรดซาลิไซลิกปลอดภัยสำหรับการดูแลผิวในระหว่างตั้งครรภ์หรือไม่

การตั้งครรภ์เป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของร่างกาย ผู้หญิงบางคนมีอาการไม่พึงประสงค์พร้อมกับการขยายตัวของผิวท้อง (ไม่อยากผิวแตกลายระหว่างตั้งครรภ์ หรือหลังคลอด บำรุงผิวด้วยผลิตภัณฑ์ของโคโคโร่ โตเกียวทุกวันนะคะ 😉) และการเตะของทารกในครรภ์ คุณแม่อาจรู้สึกเหนื่อยล้า คลื่นไส้ หรือบวม นอกจากนี้คุณอาจมีปัญหาผิวที่เกิดขึ้นใหม่ ผิวของคุณแม่อาจพบปัญหาผิวไม่เคยเป็นมาก่อน หากคุณแม่ต้องการดูแลผิวให้ดีขึ้น อาจเกิดข้อสงสัยว่า เอ๊ แล้วกรดซาลิไซลิกจะปลอดภัยหรือเปล่าสำหรับแม่ๆ ตั้งครรภ์แบบเรา

☘ กรดซาลิไซลิกปลอดภัยในระหว่างตั้งครรภ์หรือไม่?

ผลิตภัณฑ์จากกรดซาลิไซลิกที่จำหน่ายหน้าเคาน์เตอร์ทั่วไป อาจไม่ปลอดภัยสำหรับการใช้ในระหว่างตั้งครรภ์ จะต้องเป็นผลิตภัณฑ์กรดซาลิไซลิกที่ต้องสั่งโดยแพทย์ โดยเฉพาะยาที่รับประทาน การรักษาผิวใสไร้สิวโดยไม่ใช้ยาในระหว่างตั้งครรภ์:

1.ล้างผิวหน้าอย่างเบามือ ด้วยผลิตภัณฑ์ล้างหน้าที่อ่อนโยน

2.รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

3.รับวิตามินเอจากการอาหารให้มากขึ้น

สิวยังคงทำให้คุณแม่รู้สึกไม่ดีอยู่ การพบเพื่อปรึกษาแพทย์หรือแพทย์ผิวหนังสามารถช่วยให้คุณแม่ทราบถึงการรักษาอื่น ๆ ที่ปลอดภัย สำหรับการใช้ในระหว่างตั้งครรภ์ โดยปกติแล้วปัญหาผิวที่พบระหว่างตั้งครรภ์จะดีขึ้นเมื่อคุณแม่คลอดลูก และฮอร์โมนกลับมาเป็นปกติ

☘ ปัญหาผิวระหว่างตั้งครรภ์

ในระหว่างตั้งครรภ์ เหล่าคุณแม่มักพบว่าระดับฮอร์โมนแอนโดรเจนเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาผิวได้ ตั้งแต่การเกิดสิว มีขนขึ้นจนทำให้ผิวแห้งกร้าน (โคโคโร่ โตเกียว เบบี้ เนเชอรัล ครีมบำรุงผิวเข้มข้น ลดผดผื่น และเพิ่มความชุ่มชื้น ผิวนุ่มเหมือนผิวเด็ก 💕) ปัญหาผิวทั่วไปในระหว่างตั้งครรภ์ ได้แก่ :

ปัญหารอยแตกลาย

-เส้นเลือดฝอยขดคล้ายเส้นใยแมงมุม

-เส้นเลือดขอด

-จุดด่างดำ (ที่หน้าอก หัวนม หรือต้นขาด้านใน)

-ฝ้าสีน้ำตาลบนใบหน้า แก้ม จมูก และหน้าผาก

-เส้นสีเข้มจากสะดือถึงจุดซ่อนเร้น

cocoro tokyo cool organic natural oil serum organic mama belly butter
ลดคันท้องทันที ป้องกันผิวแตกลาย พร้อมล็อคความชุ่มชื้นยาวนานกว่า 24 ชั่วโมง
cocoro tokyo cool collagen cool anti
ลดเลือนรอยแตกลายแดง-ขาว พร้อมกระชับหุ่นเฟิร์ม ลดเซลลูไลท์

cocoro tokyo bright secret natural mask
ลดเลือนจุดคล้ำ รอยจากสิว รักแร้ เส้นกลางท้อง หรือน้องสาวคล้ำ

☘ กรดซาลิไซลิกคืออะไร?

ถ้าคุณไม่ได้ตั้งครรภ์จะมีวิธีในการรักษาปัญหาผิวหลากหลาย แต่ไม่ใช่ว่าการรักษาทั้งหมดจะปลอดภัยต่อหญิงตั้งครรภ์ หนึ่งในวิธีการดูแลผิวที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือกรดซาลิไซลิก สามารถหาส่วนผสมนี้ในระดับความแรงที่แตกต่างกัน ทั้งในช็อป เคาเตอร์แบรนด์ หรือยาที่ต้องสั่งโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ กรดซาลิไซลิกมักใช้เพื่อรักษาสภาพผิวต่อไปนี้:

-รักษาสิว

-รักษาปัญหารังแค

-โรคสะเก็ดเงิน

-ผิวหนังอักเสบ

-ริ้วรอยแห่งวัย

-ตาปลาชนิดตุ่ม

-ตาปลายชนิดด้าน

-หูด

-หูดบริเวณฝ่าเท้า

กรดซาลิไซลิกเป็นหนึ่งในตระกูลแอสไพริน ใช้เพื่อลดรอยแดงและการอักเสบของผิวหนัง หากใช้ในปริมาณที่เข้มข้นสูง จะสามารถใช้เป็นการการลอกผิวด้วยสารเคมีได้ กรดซาลิไซลิกในรูปแบบต่างๆ ตามร้านขายยา:

-สบู่

-น้ำยาทำความสะอาด

-โลชั่น

-ครีม

-แผ่น (Pads)

นอกจากนี้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญยังสามารถสั่งยาทา หรือยารับประทานที่มีกรดซาลิกไซลิกเข้มข้นสูงให้ได้ ขึ้นอยู่กับอาการของแต่ละบุคคลค่ะ 👩‍⚕️

☘ ผลข้างเคียงของกรดซาลิไซลิก

ก่อนที่จะใช้กรดซาลิไซลิก สิ่งสำคัญ คือ การทดสอบบริเวณผิวหนังเพื่อให้แน่ใจว่าไม่แพ้ ซึ่งอาการแพ้ ได้แก่ ลมพิษ อาการคัน หายใจลำบาก บวม (ตา ริมฝีปาก ลิ้น ใบหน้า) แน่นในลำคอ อ่อนแรง หรือเป็นลม นอกจากนี้ ระวังอย่าใช้น้ำยาทำความสะอาดที่รุนแรง ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ สารละลายอื่นๆ และเครื่องสำอาง สิ่งเหล่านี้อาจทำให้ผิวแห้งได้ หากนำไปใช้คุณอาจมีอาการระคายเคืองอย่างรุนแรงได้นะคะ หลายคนมีผิวแพ้ง่าย และมีอาการแพ้ที่ไม่รุนแรง แม้ว่าจะหายาก แต่ก็มีภาวะที่เรียกว่า “ความเป็นพิษของซาลิไซเลต” ซึ่งส่งผลต่อคนหนุ่มสาวและผู้ที่เป็นโรคตับหรือไต อาการของความเปนพิษของซาลิไซแลต รวมถึงคลื่นไส้ อาเจียน การสูญเสียการได้ยิน โรคเสียงดังในหู (ได้ยินเสียงในหู) อิดโรย การหายใจลึกกว่าปกติติดต่อกัน (หอบและหายใจเร็ว) ท้องเสีย โรคทางจิตประสาท หากคุณมีอาการหรืออาการแสดงใดๆ เหล่านี้ ให้หยุดใช้กรดซาลิไซลิกและปรึกษาแพทย์โดยทันที

☘ กรดซาลิไซลิกกับการตั้งครรภ์

แน่นอนว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคน จะมีความกังวลอย่างชัดเจนเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องเอาเข้าไปในร่างกาย และคุณแม่จะพบว่ามีกรดซาลิไซลิกในผลิตภัณฑ์จำนวนมาก จึงควรตรวจสอบทุกความเสี่ยงและชั่งน้ำหนักเปรียบเทียบกับประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้งานให้ถี่ถ้วน กรดซาลิไซลิกที่ใช้กับบริเวณเฉพาะนั้นปลอดภัยต่อหญิงตั้งครรภ์ ตามที่ American College of Obstetrics and Gynecologists กล่าวไว้ แต่ยังจำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อตรวจสอบว่ามีความเสี่ยงด้านลบต่อการพัฒนาของทารกหรือไม่

กรดซาลิไซลิกที่ต้องสั่งโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มีความเกี่ยวข้องกับยาตระกูลแอสไพริน ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้รับประทานยานี้ในระหว่างตั้งครรภ์ การศึกษาที่เชื่อถือได้แสดงให้เห็นว่าการรับประทานกรดซาลิไซลิกในช่วงตั้งครรภ์ตอนปลาย สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการมีเลือดออกในกะโหลกศีรษะได้ ความเสี่ยงของการใช้ยาในระหว่างตั้งครรภ์ และขณะให้นมบุตร แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจแนะนำทางเลือกที่ปลอดภัยกว่า

☘ สิ่งที่ต้องถามแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

หากคุณแม่ประสบปัญหาเกี่ยวกับผิวหนังในระหว่างตั้งครรภ์ ให้ปรึกษาแพทย์หรือแพทย์ผิวหนังเพื่อทำการรักษาให้ถูกต้องและปลอดภัย กรดซาลิไซลิกอาจเป็นสิ่งที่คุณแม่ใช้ตามปกติก่อนมีการตั้งครรภ์ แต่อาจมีการรักษาอื่นๆ ที่ปลอดภัยกว่าเมื่อจะใช้กรดซาลิกไซลิกรักษาปัญหาผิวระหว่างการตั้งครรภ์ คำถามที่ต้องถามแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ:

-สภาพผิวของฉันจะดีขึ้นหลังจากตั้งครรภ์หรือไม่?

-ยารักษาผิวหนังชนิดใดที่ปลอดภัยในระหว่างตั้งครรภ์ (และขณะให้นมบุตร)?

-มีทางเลือกอื่นที่อาจช่วยให้สภาพผิวดีขึ้นหรือไม่?

-ควรทำอย่างไร ถ้าหากผิวแย่ลง?

ที่สำคัญควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ผลิตภัณฑ์ใหม่ในระหว่างตั้งครรภ์เสมอนะคะ

☘ ทางเลือกแทนกรดซาลิไซลิก

สิวเป็นหนึ่งในปัญหาผิวที่พบบ่อยในหญิงตั้งครรภ์ แต่มีวิธีอื่นในการรักษาสิวโดยไม่ใช้กรดซาลิไซลิกหรือยาอื่นๆ:

-การล้างหน้าด้วยสบู่อ่อนๆ เช้าและก่อนนอน การสระผมเป็นประจำอาจช่วยกักเก็บน้ำมันไว้

-รับประทานอาหารที่อุดมด้วยผลไม้ ผัก การดื่มน้ำมากๆ เพื่อให้สุขภาพและผิวมีความชุ่มชื้น

-รับประทานอาหารที่มีวิตามินเอสูง และเพื่อความปลอดภัย ควรหลีกเลี่ยงวิตามินเอจากอาหารเสริม เพราะอาจจะได้รับวิตามินเอในปริมาณที่สูงเกินไป คุณแม่สามารถรับวิตามินสำคัญที่ช่วยบำรุงสุขภาพผิวได้จากอาหารต่างๆ เช่น นม ไข่ แครอท และปลา

-ระวังแสงแดด แสงแดดเล็กน้อยอาจช่วยทำให้สิวแห้งได้ แต่คุณแม่ก็จะต้องทาครีมกันแดดเพื่อป้องกันมะเร็งผิวหนัง และหากคุณแม่กำลังใช้กรดซาลิไซลิกหรือยาอื่นๆ อาจมีอาการแสบร้อนได้ง่ายกว่าปกติ

-รักษาสิวอย่างอ่อนโยน การขัด การสะกิด มีแต่จะทำให้ปัญหาผิวแย่ลง การใช้ผลิตภัณฑ์ที่รุนแรงหรือการเสียดสีมากเกินไป สามารถกระตุ้นให้ผิวของคุณแม่ผลิตน้ำมันมากขึ้น และการบีบหรือแกะสิวอาจทำให้เกิดแผลเป็น และทิ้งรอยไว้ในอนาคตได้

นอกจากนี้ คุณแม่ควรอ่านฉลากผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่ก่อนการใช้งาน ปรึกษาเกี่ยวกับส่วนผสมกับแพทย์ประจำตัวก่อนใช้ก็ยิ่งดีค่ะ

%d