คอลลาเจน vs อีลาสติน ต่างกันอย่างไร?

ผิวหนังของเราสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชั้น ได้แก่ หนังกำพร้า(ผิวหนังชั้นนอก) หนังแท้ (ผิวหนังชั้นใน) และชั้นไขมันใต้ผิวหนัง(ชั้นไขมันล่างสุดต่อกับอวัยวะภายใน) ซึ่งคอลลาเจนจะอยู่ในผิวหนังชั้นที่สอง คือชั้นหนังแท้ (ผิวหนังชั้นใน) ถ้าเราขาดคอลลาเจนจะทำให้เกิดริ้วรอยแห่งวัย เนื่องจากคอลลาเจนเป็นส่วนประกอบหลักนอกจากนั้นยังมี อิลาสตินและ กรดไฮยาลูโรนิค ดังนั้นเรามาทำความรู้จักกับคอลลาเจน อิลาสตินกันดีกว่า

คอลลาเจน (Collagen)

คือ โปรตีนชนิดหนึ่งซึ่งเป็นส่วนประกอบหลังของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน คอลลาเจนจะมีรูปร่างเกี่ยวพันกันสามเส้นซึ่งแต่ละเส้นประกอบไปด้วยสายแปปไทด์ กระบวนการสร้างคอลลาเจนนั้นซับซ้อนและต้องอาศัยเอนไซม์ แร่ธาตุ และชีวโมเลกุลหลายชนิดในแต่ละขั้นตอน โดยปกติผิวหนังที่มีคอลลาเจนอยู่มากผิวหนังของมนุษย์จะมีความยืดหยุ่น เต่งตึง เรียบเนียน นอกจากผิวหนังแล้วเนื้อเยื่อทั้งหมดในร่างกาย คอลลาเจนเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เซลล์ยึดเกาะกัน

อิลาสติน (Elastin)

มีความคล้ายคลึงกับคอลลาเจนมาก แต่สามารถยืดได้มากกว่า จึงเป็นตัวทำให้ผิวหนังของเรามีความยืดหยุ่น อิลาสตินยังเป็นโครงสร้างสำคัญที่ยึดให้เซลล์ผิวเรียงตัวอย่างเหมาะสม

พฤติกรรมทำลายคอลลาเจนที่ควรหลีกเลี่ยงมีดังนี้

-การรับประทานน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการขัดสีมากเกินไป น้ำตาลขัดขวางความสามารถของคอลลาเจนในการซ่อมแซมตัวเอง ควรลดการบริโภคน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการขัดสีให้น้อยที่สุด

-การได้รับแสงแดดมากเกินไป รังสีอัลตราไวโอเลตเป็นตัวการสำคัญที่ทำลายและลดการสร้างคอลลาเจน ควรหลีกเลี่ยงการถูกแสงแดดมากเกินไป และป้องกันผิวด้วยการทาครีมกันแดดอย่างสม่ำเสมอ

-การสูบบุหรี่ทำให้การสร้างคอลลาเจนลดลง แผลหายช้าลง และทำให้เกิดริ้วรอย

คอลลาเจนเป็นโปรตีนที่มีความพิเศษเพราะมีกรดอะมิโน 3 ชนิดที่พบได้น้อยในอาหารอื่น ๆ ได้แก่ ไกลซีน (Glycine) โพรลีน (Proline) ไฮดรอกซีโพรลีน (Hydroxyproline) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนพิเศษที่สร้างจากโพรลีนและไลซีน

เมื่อรับประทานคอลลาเจนเปปไทด์ ร่างกายจะย่อยมันเป็นกรดอะมิโนเพื่อให้สามารถดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดและเดินทางไปทั่วร่างกาย จนไปถึงเซลล์ไฟโบรบลาสท์ (fibroblast) ซึ่งจะใช้กรดอะมิโนเหล่านั้นในการสร้างโปรตีนคอลลาเจนขึ้นมาใหม่ ดังนั้นจึงไม่แปลกใจที่การรับประทานคอลลาเจนทุกวันจะช่วยให้ผิวยืดหยุ่น ชุ่มชื้นขึ้น และลดริ้วรอยที่มองเห็นได้ หรือแม้กระทั่งช่วยลดอาการปวดข้อที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมในนักกีฬา เราสามารถช่วยให้ร่างกายผลิตโปรตีนที่สำคัญนี้ได้โดยการรับประทานสารอาหารดังต่อไปนี้

วิตามินซี พบมากในผลไม้รสเปรี้ยว พริกหวาน และสตรอเบอร์รี

โพรลีน พบมากในไข่ขาว จมูกข้าวสาลี ผลิตภัณฑ์จากนม กะหล่ำปลี หน่อไม้ฝรั่ง และเห็ด

ไกลซีน พบมากในหนังหมู หนังไก่ และเจลาติน หรืออาหารที่มีโปรตีนสูงต่างๆ

ทองแดง พบมากในเนื้อสัตว์ เมล็ดงา ผงโกโก้ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ และถั่วเลนทิล

ทั้งนี้ เราจะปล่อยให้คอลลาเจน และอีลาสตินเราลดหายไปไม่ได้ เพราะจะทำให้เกิดริ้วรอยตามมา ตัวช่วย คือ การทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย และใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ที่มีส่วนช่วยในเรื่องของคอลลาเจนและอีลาสตินควบคู่กับไปด้วยนะคะ 😉

Discover more from Cocoro Tokyo

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading